การใช้สื่อโฆษณาดิจิทัล เติบโตได้อีก 2-3 เท่า

นรสิทธ์ สิทธิเวชวิจิตร อุปนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย)

นรสิทธ์ สิทธิเวชวิจิตร อุปนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย)

ปัจจุบันพบว่า ไทยมีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 36 ล้านคน หรือคิดเป็น 56 เปอร์เซ็นต์ของประชากร จึงเป็นเหตุผลที่มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาลงที่สื่อดิจิทัล เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะสุดท้าย แบรนด์จะต้องผันไปใช้จ่ายเงินในที่ที่ผู้บริโภคอยู่

จากผลสำรวจมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลปี 2559 (Thailand Digital Advertising Spend Mid-Year 2016) โดยสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ที่ร่วมกับทีเอ็นเอส พบว่า สื่อดิจิทัลก้าวขึ้นเป็นสื่อหลักเทียบเคียงกับสื่อโทรทัศน์แล้ว

สื่อดิจิทัลก้าวเทียบสื่อโทรทัศน์อัตราใช้สื่อออนไลน์วิดีโอเพิ่มขึ้น
จากการเก็บข้อมูลจาก 24 เอเยนซี่ชั้นนำ พบว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 มีการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลไปแล้วกว่า 4,732 ล้านบาท และคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวมากกว่าช่วงครึ่งปีแรก โดยมีมูลค่าถึง 5,150 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 9,883 ล้านบาท เติบโตขึ้น 22 เปอร์เซ็นต์จากปี 2558

นรสิทธ์ สิทธิเวชวิจิตร อุปนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ประเภทกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มใช้งบโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลมากที่สุด พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำจากกลุ่มสื่อสารมาเป็น กลุ่มยานยนต์ เป็นผลมาจากการที่ดีลเลอร์หันมาใช้กลยุทธ์ด้านสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการใช้จ่ายงบสูงถึง 1,011 ล้านบาท คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทั้งหมด ตามด้วยกลุ่มเครื่องประทินผิว 974 ล้านบาท ที่โยกเม็ดเงินโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์มาที่ออนไลน์มากขึ้น ขณะที่กลุ่มสื่อสาร ได้ปรับลดการใช้งบด้วยมูลค่า 915 ล้านบาท หลังได้รับผลกระทบจากการประมูลคลื่นความถี่ในช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา และตามด้วยกลุ่มเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ 627 ล้านบาท และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม 529 ล้านบาท

sp5

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มใช้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลเพิ่มในมูลค่าสูงที่สุดเทียบจากปี 2558 คือ กลุ่มเครื่องประทินผิว ที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 379 ล้านบาท โตขึ้น 64 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการใช้จ่ายในส่วนของออนไลน์วิดีโอมากขึ้น ตามมาด้วยกลุ่มเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 276 ล้านบาท โตขึ้น 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ และกลุ่มการเงินและธนาคาร ที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 189 ล้านบาท โตขึ้น 64 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลมาจากการที่ทุกธนาคารกำลังมุ่งไปสู่การเป็นดิจิทัลแบงกิ้ง และกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 187 ล้านบาท และกลุ่มอาหารเสริม 187 ล้านบาท

ฉบับที่ 214 เดือนตุลาคม

AI สำหรับแบรนด์ ผู้ช่วยในยุค IoT

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังระบุว่า โฆษณาในรูปแบบเฟซบุ๊ก ยังคงเป็นประเภทของการใช้สื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยครองส่วนแบ่ง 29 เปอร์เซ็นต์จากงบโฆษณาทั้งหมด และมียอดการใช้เพิ่มขึ้นถึง 49 เปอร์เซ็นต์จากปี 2558 รองลงมาคือ วิดีโอออนไลน์ที่ครองส่วนแบ่ง 17 เปอร์เซ็นต์ หรือโตขึ้น 4 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ดิสเพลย์ มียอดการใช้ลดลงจากปีที่ผ่านมา 2 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สื่อที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุ อย่างไลน์ มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 131 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2558 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

sp4

สุดท้ายแล้ว ในการทำโฆษณา อาจไม่ใช่การมีงบโฆษณาจำนวนมาก สามารถซื้อสื่อได้เยอะ หรือแม้แต่มีครีเอทีฟที่ดีเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ การมีคอนเทนต์ที่ดีและน่าสนใจ

แบรนด์พร้อมโยกงบแต่ยังขาดข้อมูลสนับสนุน
เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ของวงการโฆษณาดิจิทัลแล้ว สิ่งที่น่าสนใจพบว่า แบรนด์มีความพร้อมในการโยกเม็ดเงินโฆษณามาลงที่สื่อดิจิทัลมากขึ้นแล้ว แต่ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ยังไม่สามารถใช้เงินได้มากอย่างที่ควรจะเป็นคือ การขาดข้อมูลสนับสนุน โดย 83 เปอร์เซ็นต์ของเอเยนซี่ บอกว่า แบรนด์ยังไม่เข้าใจสื่อดิจิทัลมากพอ ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่ 61 เปอร์เซ็นต์ ขาดมาตรฐานในการเปรียบเทียบ และ 48 เปอร์เซ็นต์ มองว่าขาดผลงานวิจัยเพื่อช่วยในการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ

กิตติ เศรษฐวีรวัฒน์ ผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ทีเอ็นเอส ไทยแลนด์ หัวหน้าโครงการสำรวจฯ

กิตติ เศรษฐวีรวัฒน์ ผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ทีเอ็นเอส ไทยแลนด์ หัวหน้าโครงการสำรวจฯ

กิตติ เศรษฐวีรวัฒน์ ผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ทีเอ็นเอส ไทยแลนด์ หัวหน้าโครงการสำรวจฯ กล่าวว่า ภายหลังการเข้ามาและได้รับความนิยมของสมาร์ทโฟนในไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้แบ่งสัดส่วนในการบริโภคสื่อแบบดั้งเดิมให้กับสื่อดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งปัจจุบันสื่อดิจิทัลมีบทบาทต่อผู้บริโภคในการสร้างการรับรู้ต่อตราสินค้าและบริการ และส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเป็นอย่างมาก โดยพบว่า 47 เปอร์เซ็นต์ ของนักการตลาดเลือกใช้สื่อดิจิทัลเพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ขณะที่ 16 เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค (Consumer Engagement) และ 15 เปอร์เซ็นต์ ใช้เพื่อการสร้างยอดขายบนออนไลน์ (Drive Sales Via Online) ทั้งนี้นักการตลาดจึงควรชี้ให้แบรนด์เห็นปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เพื่อสามารถเข้าถึงลูกค้าให้มากกว่าการใช้สื่อดั้งเดิม

นรสิทธ์ กล่าวต่อว่า สื่อออนไลน์เป็นสื่อที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน ลูกค้าสามารถทราบได้ว่าเม็ดเงินที่ลงไปนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งจากรายงานผลการสำรวจจะเห็นว่านักการตลาดใช้สื่อดิจิทัล ด้วยวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อการสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค ตามมาด้วยการสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมในแบรนด์ และสร้างยอดขาย ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวจะเห็นว่า สื่อดิจิทัลได้ตอบโจทย์การทำการตลาดของแบรนด์ไปกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ของการทำตลาดทั้งหมดแล้ว

ให้ความสำคัญกับ Data มากขึ้น เชื่ออุตสาหกรรมโตถึง 10 เปอร์เซ็นต์ในปี 2560
สำหรับเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทกับวงการโฆษณาดิจิทัลในปีนี้ แบรนด์ให้ความสำคัญกับเรื่องของ Data เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytic) และ Social Listenting เข้ามาช่วยทำให้การใช้สื่อดิจิทัลมีประสิทธิภาพสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น การทำ Chatbot ที่นำเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เข้ามาปรับใช้ในการเก็บ Data หรือการนำเทคโนโลยี Virturl Reality (VR) รวมไปถึงเรื่องของวิดีโอ 360 ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเอเยนซี่ และแบรนด์จะนำนวัตกรรมเหล่านี้เข้ามาปรับใช้อย่างไรบ้าง

นพ.ศุภชัย ปาจริยานนท์  นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย)

นพ.ศุภชัย ปาจริยานนท์
นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย)

นพ.ศุภชัย ปาจริยานนท์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ย้อนกลับไปยัง 4 ปีก่อน มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลยังอยู่ที่ประมาณ 2 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1-2 เปอร์เซ็นต์ของภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาทั้งหมด แต่จากผลสำรวจล่าสุดพบว่า มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า โดยขยับขึ้นมาอยู่ใน 3 อันดับแรกของการใช้สื่อโฆษณา ซึ่งคาดว่าภายในปีนี้จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ และจะขยับไปแตะ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือมีมูลค่าเกิน 10,000 ล้านบาท ภายในปี 2560

“ในปีหน้าจะมีการย้ายเม็ดเงินโฆษณาจากสื่อสิ่งพิมพ์มาสู่สื่อดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น จากที่เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงแล้วในปีนี้ ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ชี้ให้เห็นว่า สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อที่มีผลกระทบในวงกว้างไม่น้อยกว่าสื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า อุตสาหกรรมโฆษณาดิจิทัลไทย จะสามารถเติบโตได้อีก 2-3 เท่า ด้วยความที่ผู้บริโภคเข้าถึงสื่อใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ด้านนักการตลาดพยายามที่จะปรับตัวเพื่อรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่มีสัดส่วนโฆษณาดิจิทัลที่ 17 เปอร์เซ็นต์ จากที่เดิมมีการใช้สื่อโทรทัศน์เป็นหลัก” นพ.ศุภชัย กล่าว

อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่คนในแวดวงสื่อและโฆษณาที่เร่งปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดจากการถดถอยของสื่อดั้งเดิม ผู้บริโภคเองก็เช่นกัน ซึ่งสุดท้ายแล้ว ในการทำโฆษณา อาจไม่ใช่การมีงบโฆษณาจำนวนมาก สามารถซื้อสื่อได้เยอะ หรือแม้แต่มีครีเอทีฟที่ดีเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ การมีคอนเทนต์ที่ดีและน่าสนใจ ที่จะช่วยดึงดูดใจผู้บริโภคด้วย

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

chatbot
การแชทช่วยให้ข้อมูลสำคัญแก่ธุรกิจ

กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล CEO บริษัท Mojito Technology แชทบอท กำลังกลายเป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้บริโภคจะใช้สื่อสารกับแบรนด์...

  • Chatbot-Thailand
    เสริมศักยภาพองค์กร ด้วยการใช้เทคโนโลยี Chatbot

    Chatbot จุดเริ่มต้นของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาคอุตสาหกรรม การแชทผ่านแอพฯ ในปัจจุบัน เป็นช่องทางที่หลายๆ คนเลือกใช้เป็นช่องทางหลักมากกว่าการโทร หรือส่งอีเมล ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และสามารถตอบกลับกันได้อย่างทันที ซึ่งการใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะไม่ได้พบเจออุปสรรคมากนัก  แต่การใช้งานในระดับองค์กรที่ต้องรับข้อความวันละหลายร้อยข้อความ นับว่าเป็นปัญหาที่หนัก และต้องใช้แรงานคนเข้ามาจัดการจำนวนมากเลยทีเดียว การนำระบบแชทบอท...

  • DAAT
    เทรนด์โฆษณาดิจิทัล ธุรกิจความงามเติบโตสูงสุด

    ศุภชัย ปาจริยานนท์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) สื่อโฆษณาดิจิทัลเป็นสื่อที่มีบทบาทมากขึ้นในยุคการตลาด 4.0 อีกทั้งรูปแบบของการโฆษณาดิจิทัลก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

  • GOOGLE-MOBILESITE
    โมบายล์ไซต์ เชื่อมต่อการค้าบนเดสก์ท็อป

    กิลาน เลอ ฌาเตลิเยร์  ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โซลูชันส์การตลาด Google ไม่กี่ปีที่ผ่านมา...