เปิดแนวคิด Venture Capital สไตล์ญี่ปุ่นกับ CyberAgent Ventures

ธนฉัตร ตั้งศรีวงศ์ Investment Manager ประจำประเทศไทย

ธนฉัตร ตั้งศรีวงศ์ Investment Manager ประจำประเทศไทย

CyberAgent Ventures ในการเฟ้นหาสตาร์ทอัพที่จะร่วมลงทุน ด้วยปรัชญาความเชื่อว่า VC คือ พาร์ตเนอร์ของบริษัท ที่ทำหน้าที่เป็นสปอนเซอร์ช่วยให้ธุรกิจเติบโตไปได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ธุรกิจนั้นเป็นของเขา

Venture Capital หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า VC ถือเป็นตัวเลือกทางการเงินสำคัญสำหรับสตาร์ทอัพ ที่มองหาทางเลือกในการระดมทุนเพื่อจะทำให้ธุรกิจเติบโต ด้วยความที่ธุรกิจด้านเทคโนโลยี (Tech Startup) เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตและการปิดกิจการที่รวดเร็ว ทำให้ VC จึงต้องพิจารณาเลือกสตาร์ทอัพที่โดดเด่นมากพอที่จะร่วมลงทุนและแบกรับความเสี่ยงในการจัดสรรการลงทุน

เลือกสตาร์ทอัพแบบพิถีพิถัน เคล็ดลับความสำเร็จของ VC ญี่ปุ่น
CyberAgent Ventures เป็น Ventures Capital สัญชาติญี่ปุ่นรายแรกที่เข้ามาจัดตั้งสำนักงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมี ธนฉัตร ตั้งศรีวงศ์ ดำรงตำแหน่ง Investment Manager ประจำประเทศไทย ซึ่งหลังจากที่ CyberAgent เข้ามาดำเนินกิจการเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี มีสตาร์ทอัพที่เสนอการพิจารณาเข้ามาแล้ว กว่า 300 ราย แต่มีสตาร์ทอัพเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ หรือเพียง 8 รายเท่านั้น ที่ CyberAgent ตัดสินใจร่วมลงทุน ด้วยเหตุผลที่ว่า VC ญี่ปุ่นนั้น ค่อนข้างพิถีพิถันในการเลือกลงทุนกับสตาร์ทอัพ

“จากสถิติการลงทุนของ VC ในอุตสาหกรรม Tech Startup ทั่วโลกพบว่า มีอัตราความเสี่ยงในการลงทุนสูง ยกตัวอย่างเช่น ลงทุนในสตาร์ทอัพ 10 ราย อาจเป็นธุรกิจที่ล้มเหลวถึง 7 ราย แต่ CyberAgent Ventures เรามีอัตราการล้มเหลวที่น้อยกว่านั้น ซึ่งเรามองว่าในการลงทุนจะต้องมีการกระจาย การจัดสรรอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มต้นจากการเลือกประเทศซึ่งอยู่ในกลุ่มที่กำลังพัฒนา ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต รวมถึงบริษัทที่มีไอเดียน่าสนใจ โดยในการระดมทุนนั้นจะแบ่งเป็นรอบ ไม่ว่าจะเป็น Seed Fund , series A , Series B และ Series C แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะเลือกลงทุนในธุรกิจที่อยู่ในระดับ Early Stage ที่ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงล้มเหลวสูง แต่ด้วยมูลค่าการลงทุนที่ไม่มากนัก หรือประมาณ 2.5 แสน ถึง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากธุรกิจประสบความสำเร็จจะทำให้ได้รับผลกำไรสูง หรืออาจเลือกลงทุนในธุรกิจที่มีการพิสูจน์ตัวเองแล้วในระดับหนึ่ง แต่มีความเสี่ยงล้มเหลวน้อยกว่า ซึ่งขณะนี้ CyberAgent เริ่มลงทุนในธุรกิจในระดับ Series A มากขึ้น โดยการลงทุนทั้งหมดนี้เรามองถึงโอกาสในการประสบความสำเร็จของธุรกิจมากกว่าการมุ่งไปที่การลงทุนในสตาร์ทอัพจำนวนมาก ” ธนฉัตร กล่าว

05กระจายสำนักงานทั่วโลกด้วยความเชื่อในพลังของคนพื้นที่
CyberAgent Group เป็นธุรกิจอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่รายหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 4 พันคนทั่วโลก และมูลค่าบริษัทที่สูงถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง CyberAgent Ventures เป็นบริษัทที่แยกตัวออกมา โดยมีโครงสร้างเป็น Corperate Venture Capital (CVC) แต่มีรูปแบบการประกอบการที่เป็นอิสระในลักษณะเดียวกับ Independent Venture Capital ซึ่งทำหน้าที่ลงทุนและช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเติบโต และมีการจัดตั้งสำนักงานแล้วทั่วโลก ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินโดนีเซีย เวียดนาม สหรัฐฯ และไทย

ธนฉัตร เล่าว่า การเป็น VC นับเป็นอาชีพในฝันของเขา เนื่องจากเป็นงานที่เหมาะสมกับความชอบและความถนัด ที่จะต้องใช้ทักษะการติดต่อสื่อสารกับผู้คน ขณะเดียวกันจะต้องศึกษาข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลด้านการตลาด การเงิน ศักยภาพของบริษัท รวมไปถึงข้อมูลด้านผลประกอบการ กระทั่งข้อมูลเทคนิคเชิงลึก ที่จะต้องทำความเข้าใจให้ได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ฉบับที่ 213 เดือนกันยายน

Life of Angel & Venture Capital เส้นทางที่ไกลกว่าเงินทุน

“หลังจากที่ผมเรียนจบปริญญาตรีในช่วงปี 2010 ขณะนั้นผู้คนยังไม่รู้จักกับคำว่า สตาร์ทอัพ หรือ VC เลย ตอนนั้นผมได้โอกาสศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ และได้ทำงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ผมเชื่อเหลือเกินว่า ปรากฏการณ์นี้จะต้องเกิดขึ้น เนื่องจากเราเห็นจำนวนธุรกิจ SMEs ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่ยังไม่มีตัวเชื่อมโยง หรือกองทุนใดในเมืองไทยที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่าง จึงจำเป็นที่ต้องมีกองทุนจากต่างประเทศเข้ามา แต่ขณะนั้นยังไม่มีข้อมูลเรื่องเทรนด์ดังกล่าวมากพอนัก แต่หลังจากที่จบการศึกษา ผมก็ได้เห็นว่าเริ่มมีสตาร์ทอัพเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งขณะนั้นเราเห็นข่าวของ Ensogo, Tarad.com แต่ก็ยังไม่เห็นการเข้ามาของ VC จากต่างประเทศ จนกระทั่ง CyberAgent Ventures มองหาคนไทยเข้ามาร่วมงาน ทำให้ได้มีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่นี้ ด้วยปรัชญาการทำงานของ CyberAgent ที่เชื่อในพลังของคนในพื้นที่ ที่จะสามารถเข้าใจพฤติกรรมคนชาติเดียวกัน” ธนฉัตร กล่าว

ต้องดู ทีม-ตลาด-โปรดักส์ ปัจจัยสำคัญก่อนเลือกสตาร์ทอัพ
มีคำกล่าวว่า การลงทุนกับสตาร์ทอัพเปรียบเสมือนกับการแต่งงาน ที่อาจจะไม่ได้ราบรื่นเสมอไป แต่ตราบใดที่นักลงทุนเลือกแล้ว จะต้องเชื่อว่าธุรกิจนั้นเป็นการลงทุนที่ถูกต้อง และพร้อมที่จะเดินหน้าไปกับผู้ประกอบการ ดังนั้นหากจะต้องเลือกคู่ชีวิตสักคน คุณสมบัติสำคัญที่ CyberAgent Ventures มองหาในตัวสตาร์ทอัพนั้นจะต้องประกอบด้วย 3 ข้อ ได้แก่ เรื่องของทีม ที่เขาเชื่อว่า คนที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ จะต้องได้รับการช่วยเหลือและการสนับสนุนที่ดีจากคนในทีม เพื่อยกระดับความสามารถของแต่ละคนออกมา ซึ่งหากทีมไม่ดี จะเป็นเรื่องยากที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จ ต่อมาเป็นเรื่องของตลาด โดยจะเลือกลงทุนในธุรกิจที่อยู่ในตลาดกำลังเติบโต และสามารถสเกลได้ เนื่องจากธุรกิจ VC เป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนกับอนาคต จึงจำเป็นจะดูทิศทางการเติบโตของธุรกิจในอนาคตด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเลือกลงทุนในธุรกิจที่มีขนาดตลาดที่ใหญ่ถึงหมื่นล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะสามารถแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ก็นับเป็นมูลค่า 100 ล้านบาทแล้ว ในทางกลับกันหากเป็นธุรกิจในตลาดที่เล็กลงมา จะมีอัตราการแข่งขันของสตาร์ทอัพที่ไม่ได้สูงมากนัก หรือจะต้องเป็นธุรกิจที่จะสามารถกินส่วนแบ่งตลาดได้มากถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์ และสุดท้ายคือ โปรดักส์ ที่นอกจากจะต้องมีความแตกต่างจากราย อื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาดแล้ว ยังจะต้องเป็นโปรดักส์ หรือเซอร์วิสที่เข้าใจถึงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างแท้จริง

“ความเชื่อที่ว่า VC จะต้องลงทุนกับธุรกิจที่มีความเป็นนวัตกรรมสูง หรือนวัตกรรมเปลี่ยนโลก นับเป็นความเชื่อที่ผิด ยกตัวอย่าง Facebook และ Google ซึ่งเป็นธุรกิจที่ VC ไม่กล้าลงทุน แม้เราจะเห็นว่ามันมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงโลก ซึ่งความน่ากลัวจะอยู่ที่ การไม่มีอะไรมาพิสูจน์ได้ว่า ธุรกิจนั้นจะสามารถทำได้จริง ดังนั้นสิ่งที่ VC มองหา จึงเป็นสิ่งที่จะต้องเชื่อว่าธุรกิจจะสามารถเติบโตไปได้ หรืออาจเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่มีการนำมาปรับให้มีความน่าสนใจขึ้น และเพิ่มจำนวนคนเข้ามาใช้ให้มากขึ้นเป็น 100 เท่า อย่าง STYLHUNT ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่เราร่วมลงทุน ด้วยคุณสมบัติด้านความเป็นทีมที่ดี ที่แม้สมาชิกทั้งหมดจะเป็นชายล้วน แต่พวกเขากลับมีความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้หญิงเป็นอย่างดี และรู้ถึงความต้องการในการช้อปปิ้งไม่ว่าจะเป็นทั้งช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ พวกเขาจึงได้ออกแบบแอพพลิเคชั่น ที่รวบรวมร้านค้ายอดนิยมบนโซเชียลมีเดียเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานเสมือนเข้าไปซื้อของที่ร้าน พร้อมทั้งสามารถติดตามร้านค้าเพื่ออัพเดตแฟชั่นแบบไม่มีพลาด ซึ่งผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์การใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน ที่ช่วยอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้น” ธนฉัตร กล่าว

ธนฉัตร กล่าวต่อว่า ธุรกิจที่ดีไม่จำเป็นจะต้องระดมเงินทุนได้จำนวนมาก ซึ่งสิ่งที่ VC มองหาคือ ธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่สามารถเติบโตและขยายธุรกิจไปได้ด้วยตัวเอง สามารถสร้างกำไร และผลประกอบการที่ดีได้ ทั้งนี้สตาร์ทอัพมักจะคิดว่าชีวิตของพวกเขาขึ้นอยู่กับนักลงทุน แต่ VC กลับมองว่า ชีวิตของเรานั้นขึ้นอยู่กับสตาร์ทอัพ เพราะเมื่อถึงจุดที่ต้องการถอนตัว (Exit Strategy) เราจะต้องทำให้ธุรกิจมีมูลค่าสูงกว่าที่เข้าไป ซึ่งการที่มูลค่าบริษัทเติบโตขึ้น นับเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้ประกอบการเช่นกัน ดังนั้นในฐานะนักลงทุน เราจึงต้องช่วยให้ธุรกิจเติบโตไปได้มากที่สุด ภายใต้การทำงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

02

เรา เห็นจำนวนธุรกิจ SMEs ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่ยังไม่มีตัวเชื่อมโยง หรือกองทุนใดในเมืองไทยที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่าง จึงจำเป็นที่ต้องมีกองทุนจากต่างประเทศเข้ามา

กระแสสตาร์ทอัพตื่นตัวมากขึ้นแนะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรม Venture Capital ในปีนี้ ธนฉัตร มองว่า จะเห็นการตื่นตัวของคนไทยในเรื่องของสตาร์ทอัพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นจากภาครัฐบาล และการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นของภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคการธนาคาร ที่มีการจัดตั้งกองทุน Accelerator และการเข้าร่วมทุนกับธุรกิจ FinTech ขณะเดียวกันจะเห็นภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น กลุ่มท่องเที่ยว ตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มาแรงในปีนี้ ได้แก่ Drone, Virtual Reality (VR) รวมไปถึง Internet of Things (IoT) และ  Artificial Intelligence (AI) หรือแชทบอท ที่ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทต่อในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เหลือเป็นอย่างมาก

31643
31646

“Venture Capital ในญี่ปุ่นมีการเติบโตไปไกลแล้ว ทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นเริ่มมองการลงทุนมาที่ไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความพร้อมสูง ทั้งในด้านระบบสาธารณูปโภค ระบบคมนาคม รวมถึงอินฟราสตรัคเจอร์ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน และด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีปริมาณการใช้โซเชียลมีเดียสูง ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือไลน์ ทำให้นักลงทุนต่างมองว่าไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจมากในแง่ของการลงทุน” ธนฉัตร กล่าว

คนทั่วไปเริ่มมีปัญหาว่า อะไรคือธุรกิจ SMEs และอะไรคือ ธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยจะเริ่มเห็นการใช้คำนิยามของสตาร์ทอัพไปในทางที่ผิด ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องสตาร์ทอัพที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ หรืออยากทำธุรกิจเป็นของตนเอง แต่ไม่สามารถจำกัดความได้ชัดเจนว่าไอเดียของเขานั้น คือสตาร์ทอัพ หรือ SMEs ซึ่งหากเราสามารถจำกัดความให้ชัดเจนเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนทั่วๆ ไปมากขึ้น ธนฉัตร กล่าวทิ้งท้าย

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ธนาคารกรุงเทพรับสมัครสตาร์ตอัพ เข้าโครงการ Bangkok Bank InnoHub Season 2

ธนาคารกรุงเทพร่วมกับบริษัท Nest ที่มากด้วยประสบการณ์ด้านสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค ค้นหาธุรกิจสตาร์ทอัพ 5 กลุ่ม …