เยาวชนรุ่นใหม่ มีความเสี่ยงในสังคมดิจิทัล

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที

พื้นที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่เปิดสำหรับทุกคน แทบจะทุกอย่างต้องเกิดการเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีการตื่นตัวในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง  การเรียนรู้ที่จะใช้อย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องมีการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก และเยาวชนรุ่นใหม่ที่ใช้เวลาอยู่กับโลกออนไลน์เป็นเวลานาน

cover2-3

ทุกภาคส่วนปรับตัว เพื่อเข้าสู่สังคมดิจิทัล
โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทกับประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ ข้อมูลข่าวสาร การเข้าถึงข้อมูลการศึกษา ตลอดจนการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ แสดงให้เห็นว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมีที่มีความสำคัญอย่างมาก ทางรัฐบาลเองก็ต้องการขับเคลื่อนให้ทุกอย่างสะดวกขึ้นด้วยเทคโนโลยีเช่นกัน

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีในหลายๆมิติของสังคมมีอะไรบ้าง แน่นอนไม่ใช่แค่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองอย่างเดียว มันมีความหมายและการใช้งานหลายรูปแบบที่จะสร้างเมืองของเราให้อยู่ในระบบอัจฉริยะได้ในทุกๆ ด้าน ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตสังคมของเราได้

ไม่ใช่แต่เพียงภาคใหญ่ๆ ที่ต้องสนใจในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เท่านั้น แต่ในระดับของผู้ประกอบการ การศึกษา และประชาชนเองต้องเรียนรู้และเปิดรับสิ่งที่กำลังจะมาถึงเพื่อให้กลไกในการพัฒนาดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เยาวชนมีความเสี่ยง ใช้อินเทอร์เน็ตไม่เหมาะสม หลังพบปิดบังการใช้มากกว่าครึ่ง
เมื่อทุกสิ่งกำลังจะเป็นดิจิทัล เด็กๆ ในปัจจุบันจึงใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ปกครองจะไม่สามารถทราบได้ว่าเด็กๆ จะได้เจอกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบ้างหรือไม่ จากผลสำรวจเรื่อง “The things kids hiding online” โดยแคสเปอร์สกี้แลป และบริษัทไอคอนคิดส์แอนด์ยูธ พบว่ายิ่งเด็กโตเท่าไรจะมีเรื่องที่ปิดบังผู้ปกครองมากขึ้นเท่านั้น เด็กที่มีอายุ 8-10 ปี 33 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้บอกพ่อแม่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ ส่วนเด็กที่มีอายุ 14-16 ปี จำนวนจะพุ่งขึ้นสูงถึง 51 เปอร์เซ็นต์

จากผลสำรวจข้างต้นจึงเกิดเป็นคำถามที่น่าสนใจว่าเพราะเหตุใดเด็กๆ เหล่านั้นจึงต้องปิดบังการใช้งานของตนจากผู้ปกครอง ซึ่งก็พบว่าผู้ปกครองจำนวน 56 เปอร์เซ็นต์ ไม่รู้เลยว่าเด็กใช้เวลาในโลกอินเทอร์เน็ตไปเท่าใด และผู้ปกครองจำนวน 70 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีความรู้เรื่องการดาวน์โหลดที่ผิดกฎหมายหรือการกลั่นแกล้งกันทางไซเบอร์

แต่อย่างไรก็ตาม การห้ามไม่ให้ใช้งานก็ไม่ใช่การจัดการที่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะด้วยพฤติกรรมของเด็กแล้วการถูกห้ามปรามในการใช้งานก็ยิ่งเท่ากับการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นให้มากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีต่างๆ ที่ผู้ปกครองอาจจะตามไม่ทัน อาทิ การใส่รหัสผ่าน การแอบใช้เมื่อลับตา หรือลบประวัติการใช้งานออก ซึ่งการกระทำเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการใช้งานแบบไม่เหมาะสม

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที

กลุ่มคนที่จะถูกชักจูงให้แสดงความคิดเห็นและกลั่นแกล้งคนอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและวัยรุ่น ที่เชื่อว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ตนได้รับการยอมรับ และมีตัวตนบนโลกออนไลน์

พฤติกรรมบนโลกออนไลน์ ที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบัน
เชื่อได้ว่าผู้ปกครองหลายๆ ท่าน ก็ไม่ได้มีการคลุกคลีในส่วนของการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากนัก แต่การดูแลอย่างใกล้ชิดนับว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การดูแลให้คำแนะนำเด็กๆ ไม่ได้จำกัดอยู่ในชีวิตจริงแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น การเปิดใจและพูดคุยกันจะเป็นการเขาถึงและทำให้เด็กๆ วางใจได้มากขึ้น

โดยหนึ่งปัญหาสำคัญที่กำลังเป็นภัยเงียบอย่างการ กลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbully) ก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก อาทิ การถูกข่มเหง รังแก ปล่อยภาพต่างๆ ออกมาสู่สาธารณะ และทำให้เกิดความเสียหาย และสังเกตได้ว่ากลุ่มคนที่จะถูกชักจูงให้แสดงความคิดเห็นและกลั่นแกล้งคนอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและวัยรุ่นที่เชื่อว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ตนได้รับการยอมรับ และมีตัวตนบนโลกออนไลน์

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่เด็กทำบนโลกออนไลน์ล้วนเกิดจากความเข้าใจที่ผิดพลาด และไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องหาความรู้ และเพิ่มทักษะของตัวเองเกี่ยวกับโลกไซเบอร์ให้มากยิ่งขึ้น เพราะหากเด็กได้รับความเข้าใจว่าโลกออนไลน์สามารถเรียนรู้ได้ไม่มีจำกัดและเลือกเนื้อหาเป็น ก็จะทำให้ได้รับประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมแบบดิจิทัลได้ในอนาคตด้วย

e209_1

ฉบับที่ 209 เดือนพฤษภาคม

Digital Literacy เรื่องครอบครัว รู้ทันดิจิทัล

รัฐบาลขับเคลื่อนการใช้ออนไลน์ เพื่อเข้าถึงประชาชน และส่งเสริมการเรียนรู้
ทางรัฐบาลเองก็เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้พร้อมสร้างโครงการที่เห็นได้เป็นรูปธรรมอย่าง Govchannel ศูนย์กลางการบริการภาครัฐสำหรับประชาชน เพื่อสร้างพื้นฐานของโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพ รวบรวมบริการและข้อควรรู้ต่างๆ ของทางภาครัฐบาล การส่งเสริมการศึกษาให้กับเยาวชน การท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้ใกล้ชิดกับบริการรัฐบาลอย่างทั่วถึง

“ประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม อย่างรวดเร็วและรุนแรง พร้อมกับการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจและระเบียบใหม่ของโลก ที่นับวันจะซับซ้อนยิ่งขึ้น ภาคการศึกษามีบทบาทสำคัญอย่างมากในฐานะเป็นแหล่งองค์ความรู้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเดินหน้าและพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในทุกๆ ด้าน เป็นที่พึ่งของสังคม” ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที กล่าว

ซึ่งอย่างไรก็ตามการมีทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นกระบวนการสำคัญอย่างยิ่งในการปรับตัวครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนชราก็ตาม ทุกคนจำเป็นต้องเข้าถึงและเรียนรู้การใช้งานให้ได้ถูกวิธีเพื่อขับเคลื่อนให้กลไกมีประสิทธิภาพสูงสุด

cover2-4

พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่เด็กทำบนโลกออนไลน์ล้วนเกิดจากความเข้าใจที่ผิดพลาด และไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องหาความรู้ และเพิ่มทักษะของตัวเองเกี่ยวกับโลกไซเบอร์ให้มากยิ่งขึ้น

แอพพลิเคชั่นจากทางรัฐบาลที่เหมาะ สำหรับเยาวชน

  • Museums Pool เป็นแอพพลิเคชั่นที่ช่วยในการนำชมพิพิธภัณฑ์ ทั้งแบบที่เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์จริงและแบบพิพิธภัณฑ์เสมือน การนำชมในแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจะนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นให้กับผู้ใช้งานเท่านั้น ในขณะที่การนำชมในพิพิธภัณฑ์จริง ผู้เข้าชมสามารถดูเนื้อหาของวัตถุจัดแสดงแบบละเอียดได้โดยการอ่าน QR code ที่ติดอยู่กับวัตถุ เนื้อหาดังกล่าวประกอบด้วย ภาพ เสียง และวิดีโอ เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าใจในวัตถุจัดแสดงมากยิ่งขึ้น
  • Eco Planet เกมเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เล่นจะได้ทดลองใช้ชีวิตประจำวันในเรื่องของการเดินทาง การบริโภค การใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ และการคัดแยกขยะ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • EDU tour มิติใหม่ของสื่อการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ กับแอพพลิเคชั่น EduTour โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ท่องไปในโลกดิจิทัล ของ 4 จังหวัด สุดยอดแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ ใน 3 หัวข้อ ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา
  • Medical Genomics เรียนรู้และทำความเข้าใจกับเภสัชพันธุศาสตร์และจีโนมทางการแพทย์ ค่อยๆ ปลดล็อคทีละด่าน นอกจากนี้ ยังมีมินิเกม และตราสัญลักษณ์รางวัลพิเศษต่างๆ จีโนมทางการแพทย์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts