Insanity Bearcraft อีกขั้นของ เกมพัซเซิล ฝีมือเด็กไทย

   การใช้ชีวิตแบบเร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้เกิดภาวะทางอารมณ์ที่หลากหลาย ทั้งหงุดหงิด เครียด และอื่นๆ การหาตัวช่วยเพื่อการผ่อนคลายจึงเป็นทางออกที่ดี โดยเฉพาะการเล่นเกม หลายคนชอบเล่นเกมแก้ไขโจทย์ปัญหา กีฬา หรือต่อสู้ แต่เกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับทุกเพศทุกวัยคงหนีไม่พ้นเกมรูปแบบพัซเซิล ลากสาม ที่มีอยู่ในท้องตลาดมากมาย อาทิ Puzzle Craft หรือ Jewel Puzzle เป็นต้น แต่โดยทั่วไปเกมในรูปแบบนี้ก็มีวิธีการเล่นที่ไม่ค่อยต่างกัน

app1

Insanity Bearcraft ผลงามเกมพัซเซิลรูปแบบใหม่ฝีมือเด็กไทยอย่าง ยงยศ คูรัตน์ (ป๊อป), กิตติณัฐ พรสุรภาพ (บิ๊ก), อาชัญ สุนทรอารมณ์ (ต้า), พงศธร สันติวัฒนกุล (เคิร์ก), ปริเมธ วงศ์สัตยนนท์ (เจมส์) นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศิรภัสน์ พรรคกลิน (นิค) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) และยังได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่อีกด้วย

เริ่มต้นจากความหวังที่ต้องผิดหวัง
น้องป๊อปเจ้าของไอเดียเกม Insanity Bearcraft เล่าว่า ในตอนแรกได้เข้าร่วมงานของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยพบกับคอนเซ็ปต์ของงานที่ว่า ใครอยากสร้างเกมให้เข้าไปหาทางสถาบันได้เพียงแค่มีไอเดีย ด้วยความที่ตัวเองเรียนคณะวิทยาศาสตร์จึงได้ปรึกษากับเคิร์กที่เรียนในคณะวิศวกรรม และมีความสามารถในการเขียนโค้ดเพื่อที่จะสร้างสรรค์ผลงานเกมออกมาให้ได้ด้วยตัวเอง ในระหว่างช่วง 6 เดือนของการปิดเทอม โดยใช้เวลา 1 เดือน ในการค้นหาคอนเซ็ปต์ของเกมที่จะทำ

ด้วยความคิดว่า การที่เราจะหาไอเดียในการทำอะไรเราต้องสัมผัสสิ่งนั้นก่อน จึงเริ่มต้นด้วยการเล่นเกม สำหรับเกมแรกที่ได้ลองเล่นคือ Line Pokopang  ซึ่งเป็นแนวพัซเซิลลาก 3 ทั่วไปที่ใครๆ ก็เล่นได้ แต่ว่าเล่นไปนานๆ ก็ไม่มีอะไรใหม่ นอกจากการทำคะแนนสูงสุดเพื่อแข่งกับเพื่อน ซึ่งถ้าไม่มีเพื่อนมันก็ไม่สนุก จึงตัดสินใจว่าจะทำเกมรูปแบบนี้ แต่ว่าต้องมีอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจ และไม่จำเจในการเล่น

e204

ฉบับที่ 204 เดือนธันวาคม

ปรับร้านค้ายุคดิจิทัล รับเทรนด์ปี 59

“หลังจากได้ไอเดียการทำเกมมาแล้ว จึงมุ่งหน้าไปยังสถาบันดังกล่าวที่เป็นแรงบันดาลใจแรก แต่แล้วความฝันก็จบลงเมื่อทางสถาบันให้ตั้งคำตอบกลับมาว่า ไม่ใช่เพียงไอเดียที่ต้องการแต่เป็นผลงานที่สำเร็จแล้ว ซึ่งทางสถาบันจะช่วยในการทำการตลาด เขาก็ไล่ให้เราไปลองเขียนเกมง่ายๆ ก่อนไหม แบบโอเทโร่ หมากรุก ซึ่งเราก็คิดว่ามันไม่ใช่ จึงกลับมาหาทีมเพิ่มเพื่อทำให้ไอเดียนี้ออกมาเป็นชิ้นงานให้ได้ จึงได้ชวนต้าเข้ามาร่วมทำงานตรงนี้ด้วย ซึ่งใช้เวลาไม่นานก็ออกมาเป็นเกม Insanity Bearcraft ได้สำเร็จ”

เมื่อมีผลงานที่สำเร็จแล้วและไตร่ตรองถึงข้อเสนอกับทางสถาบันนั้นที่ต้องมีการหักเปอร์เซ็นต์ในการขายเกม ทำให้ทางทีมคิดว่าจะทำการประชาสัมพันธ์ และวางขายไปด้วยตัวเอง จึงหาคนเข้าทีมมาเพิ่มเพื่อทำภาพกราฟิกและเทรลเลอร์เพื่อโปรโมต ทำให้รวมเป็นทีมที่มีสมาชิกหลัก 6 คน

app2

ความพิเศษที่เพิ่มเข้ามาในคอนเซ็ปต์ของเกม Insanity Bearcraft ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหมี เพื่อหาทางกลับหมู่บ้านของตนเอง โดยผู้เล่นจะต้องฝ่าฟันกับเหล่าศัตรูที่เข้ามาขัดขวาง วิธีการลากเพชรหมีให้มีความยาวเพื่อให้ได้คะแนนสูงๆ จะไม่สามารถเอาชนะศัตรูเหล่านี้ได้

จุดเด่นที่แตกต่างจาก Puzzle ทั่วไป
วิธีการเล่นก็ยังคงเป็นรูปแบบพัซเซิลลาก 3 โดยลากเชื่อมเพชรหมี ที่มีสีเหมือนกันอย่างน้อย 3 เพชร ซึ่งเมื่อลากเชื่อมเสร็จสิ้นให้ผู้เล่นปล่อยนิ้วที่แตะออกจากหน้าจอ เพชรหมีที่ผู้เล่นลากเชื่อมจะถูกทำลายและเพชรที่อยู่ข้างบนจะเข้ามาเติมเต็มส่วนที่หายไป แต่ด้วยความพิเศษที่เพิ่มเข้ามาในคอนเซ็ปต์ของเกม Insanity Bearcraft ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหมี เพื่อหาทางกลับหมู่บ้านของตนเอง โดยผู้เล่นจะต้องฝ่าฟันกับเหล่าศัตรูที่เข้ามาขัดขวาง โดย ณ ตอนนี้มีศัตรูที่แตกต่างกันอยู่ทั้งหมด 7 ตัว วิธีการลากเพชรหมีให้มีความยาวเพื่อให้ได้คะแนนสูงๆ จะไม่สามารถเอาชนะศัตรูเหล่านี้ได้ ในศัตรูแต่ละตัวนั้นจะมีจุดอ่อนที่ต่างกันไป อาทิ การสลับหน้าจอ เปลี่ยนรูปแบบหมีให้กลายเป็นสีดำ ซึ่งผู้เล่นจะต้องหาทางที่จะพิชิตเหล่าศัตรูเหล่านี้ให้ได้ โดยศัตรูทั้ง 7 จะวนเวียนมาให้ต่อสู้ แต่เมื่อเลเวลมากขึ้นความยากก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นด้วย

นอกเหนือจากนี้ ผู้เล่นสามารถที่จะเลือก Abearlity (Ability) ซึ่งมีแตกต่างกันทั้งหมด 14 ชนิด ที่จะเข้ามาช่วยผู้เล่นในการปราบเหล่าศัตรู โดย Abearlity ทุกชนิดนั้นมีความสามารถที่ดีทั้งหมด แต่อาจจะไม่ได้ดีกับศัตรูทุกตัว ดังนั้นผู้เล่นจะต้องคิดและวางแผนให้ดีในการเลือกให้ตรงกับจุดอ่อนของศัตรู หรือความถนัด และความต้องการของผู้เล่น ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นการให้อิสระ และฝึกการคิดวิเคราะห์ของผู้เล่นอีกด้วย

จากไอเดียเล็กๆ สู่เวทีการประกวด
จากที่มีผลงานเกมอยู่ในมือแต่ยังไม่รู้จะไปทางไหนต่อ ก็ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาให้เข้าร่วมในโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย หรือ NSC ซึ่งตรงนี้เป็นจุดช่วยให้สมาชิกในทีมมีแรงผลักดันในการพัฒนาผลงานชิ้นนี้ให้ดีขึ้นด้วย ทางทีมยอมรับว่าตอนที่ส่งไปก็ไม่ได้คาดหวังรางวัล แต่พอได้ผ่านเข้ารอบลึกๆ ก็รู้สึกว่าต้องพัฒนาชิ้นงานให้ดีที่สุด จนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 มาครอบครอง อีกทั้งยังได้รับรางวัลทุนสนับสนุน 50,000 บาท จากผลงานประเภทเกมจากโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่อีกด้วย

โดย Insanity Bearcraft ได้เปิดให้ทดลองเล่นในระบบ Android ซึ่งก็มีหลายเสียงตอบรับที่เข้ามาชื่นชม และมีคอมเมนต์ที่ต้องการให้แก้ไขเช่นเดียวกัน ซึ่งกว่าจะมีผลงานออกมาให้เหล่าผู้เล่นได้รับความบันเทิงกันนั้น อุปสรรคในการทำงานก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากเรื่องเวลาแล้ว การทำงานเป็นทีมการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ บางทีเราต้องการอย่างนี้พูดแต่คนทำๆ มาอีกอย่าง ซึ่งมันไม่ใช่ ตรงนี้ก็ทำให้เหนื่อยกันทั้งสองฝ่าย

“การทำงานทุกอย่างมันก็มีทั้งง่ายและยาก แค่เรามีไอเดียและความพยายามก่อนมันก็ผ่านไปได้ อย่าง Insanity Bearcraft เองก็ได้รับโอกาสดีๆ หลายอย่างหลังจากที่เริ่มต้นไปแล้ว อย่างไรก็ตามหากเพียงลองลงมือทำแล้ว จากผลงานที่คนมองว่าก็แค่เกมไร้สาระ จะพิสูจน์ให้เห็นได้แน่นอนว่ามันมีอะไรที่ดีมากกว่านั้น”

 

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ทอ-ไอ-ยอ-ไทย-applicaition
ทอ-ไอ-ยอ-ไทย สอนน้องอ่านภาษาไทย เบื้องต้น

ช่วงเริ่มต้นในการเรียนรู้ภาษา ยังคงเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเสมอ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ทีเริ่มเข้าโรงเรียนและเรียนรู้ภาษาอย่างจริงจังที่มาก กว่าการพูด ปัญหาการอ่านเขียนภาษาไทยของเด็กเล็ก ยังคงมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด...