OCC หน่วยงานดูแลอีคอมเมิร์ซจาก ETDA

ไทยเป็นประเทศที่ยุโรปและจีนมองเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA จึงเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ในการเสริมความแข็งแกร่งร้านค้าออนไลน์

ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA

ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA

ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้การรับจ่ายเงินด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกโกงได้ง่าย  และการทุจริตในการซื้อ-ขายอีคอมเมิร์ซ ถือเป็นภัยคุกคามด้านไซเบอร์อันดับสองของประเทศไทย

เมื่อโลกธุรกิจออนไลน์ขยายตัว
ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA กล่าวว่า ข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซ ทั่วโลก ปี 2013 มีมูลค่า 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นการซื้อ-ขายแบบ B2B ประมาณ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และ B2C ประมาณ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งตลาดใหญ่ที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา และจีน โดยสหรัฐอเมริกาการซื้อ-ขายรูปแบบ B2B มีมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ และ B2C มูลค่า 263 ล้านดอลลาร์ ส่วนจีนการซื้อ-ขายแบบ B2B มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ และ B2C ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์

ประเทศไทย ในปี 2013 มีมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซประมาณ 7.68 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อ-ขายแบบ B2G เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่ให้หน่วยงานรัฐต้องจัดจ้างด้วยการ e-Auction ทำให้ไม่ได้สะท้อนจริงๆ สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ซึ่งถ้าแยกออกมามูลค่าของตลาด B2G ประมาณ 3.47 แสนล้านบาท B2B ประมาณ 2.38 แสนล้านบาท และ B2C ประมาณ 1.82 หมื่นล้านบาท จากตัวเลขนี้ทำให้เห็นถึงโอกาสอย่างมากในการเติบโตแบบก้าวกระโดด

จากผลสำรวจพบว่า ตลาดในอาเซียนตั้งแต่ปี 2013-2017 บางประเทศอาจมีการเติบโตในตลาดอีคอมเมิร์ซสูงถึง 25เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นจะมีการเติบโต 5-7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สำหรับประเทศไทยปี 2013 มีการเติบโตกว่าปี 2012 แค่ 3.2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้น ETDA มองว่า แล้วจะทำอย่างไรให้ปีหน้าสามารถผลักดันให้เติบโตขึ้นไปเป็นตัวเลขสองหลักได้คือ 10 เปอร์เซ็นต์

e200

ฉบับที่ 200 เดือนสิงหาคม

ชำระเงินผ่านแอพฯ แชต รับตลาดโมบายล์

พัฒนาและบ่มเพาะ
ดร.รัฐศาสตร์ กล่าวว่า ครั้งนี้ถือเป็นการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐครั้งแรกแบบเต็มตัว จึงนำประสบการณ์การทำงานในบริษัทเอกชน คือการทำ SWOT มาวางแผนและวางกลยุทธ์เพื่อหาจุดแข็งในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์กรและนำจุดอ่อนมาปรับปรุงให้กลายเป็นจุดแข็งต่อไป ซึ่งทำให้พบว่า การพัฒนาตลาดอีคอมเมิร์ซจะต้องทำแบบองค์รวมทั้งระบบ ไม่สามารถทำเพียงจุดหนึ่งจุดใดได้ ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิดการร่วมกันสร้างโลกของอีคอมเมิร์ซที่สมบูรณ์ หรือโครงการ Green E-commerce

โดยโครงการนี้จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อ-ขายออนไลน์ โดยการพัฒนา Thaimarket.com ซึ่งเป็นเว็บฯ e-Directory ที่รวบรวมร้านค้าออนไลน์ที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และตรวจสอบตัวตนได้ เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมได้อย่างมั่นคงปลอดภัย 2. การเสริมทักษะ เพิ่มพูนความรู้

ด้วยการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มร้านออนไลน์ ไปจนถึงกลุ่มสื่อโฆษณาออนไลน์ เพื่อให้สร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนแนะนำเทคนิคการตลาดออนไลน์ พร้อมสนับสนุนเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์ และมีผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซให้คำปรึกษาตลอดโครงการ

สุดท้ายคือ การปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ ด้วยการเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์ หรือ Online Compliant Center (OCC) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรองรับปัญหาอันเกิดจากการทำธุรกรรมออนไลน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเฟสแรกนั้นเริ่มต้นดูแลร้านค้าภายใต้ Thaimarket.com ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง และพร้อมขยายการให้บริการไปยังเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสในปีต่อไป

ดร.รัฐศาสตร์ เผยว่า ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 400 ร้าน มีความสนใจเพิ่มทักษะกลยุทธ์กระตุ้นยอดขายผ่านการทำการตลาดออนไลน์  โดยมีความต้องการทำการตลาดผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ การตลาดผ่าน Facebook  81 เปอร์เซ็นต์ การโฆษณาผ่าน Google 57 เปอร์เซ็นต์ และการตลาดผ่านมือถือ 50 เปอร์เซ็นต์ เช่น แอพพลิเคชั่นแชต

นอกจากนี้ การติดตั้งระบบรับชำระเงินออนไลน์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ  ร้านค้าออนไลน์ที่เข้าร่วมโครงการมีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์ ที่ติดตั้งระบบชำระเงินออนไลน์ และเมื่อเทียบกับร้านค้าออนไลน์ทั้งหมดในเมืองไทยมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เนื่องจากตอนนี้ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้การรับจ่ายเงินด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกโกงได้ง่าย  และการทุจริตในการซื้อ-ขายอีคอมเมิร์ซ ถือเป็นภัยคุกคามด้านไซเบอร์อันดับสองของประเทศไทย ดังนั้น สิ่งนี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในการสมัครใช้งาน Payment Gateway ให้ถูกต้อง ซึ่งเมื่อมีการจัดอบรมแล้วพบว่า มี 59 เปอร์เซ็นต์ ที่วางแผนจะติดตั้งระบบชำระเงินออนไลน์หลังจากที่เข้าร่วมโครงการ

สำหรับเว็บไซต์ Thaiemarket.com นั้น เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นในการใช้เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซคนไทย ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงร้านค้าออนไลน์ให้ได้เจอกับผู้ซื้อทั้งในประเทศและจากทั่วทุกมุมโลก และผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่เข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มนี้คือ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและมีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

4

3

ผุด OCC สร้างความเชื่อมั่น
ดร.รัฐศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้การซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์เติบโตแบบแข็งแรงจะต้องมีกฎระเบียบหรือมาตรฐานในการดูแลทั้งผู้บริโภคและร้านค้า เพราะจากการสำรวจพบว่า ปัญหาที่เจออันดับแรกในการโทรเข้ามาแจ้ง Customer Service ของเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสต่างๆ เช่น การได้รับสินค้าช้า สินค้าที่ได้ไม่ตรงกับรูปภาพ หรือผิดไซส์  ซึ่งถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ดังนั้น ETDA จึงได้ไปศึกษาโมเดลในต่างประเทศเพื่อนำมาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ และพบว่าหลายๆ ประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ มีหน่วยงานชื่อ E-Commerce Mediation Committee หรือ ECME ที่ทำเรื่อง OCC (Online Compliance Center) ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมากในเกาหลี เนื่องจากโมเดลนี้มีน่าสนใจคือ การจัดตั้ง Agency ขึ้นมาดูแลโดยตรง

หน่วยงานนี้มีอำนาจเต็มที่ในการจัดการปัญหาทั้งหมดของอีคอมเมิร์ซ ไม่เฉพาะดูแลกฎหมาย  แต่ยังทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน นั่นคือ ถ้าใครจะสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต้องมาแจ้งจดทะเบียนกับหน่วยงานนี้ นอกจากนี้ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ถ้ามีการแจ้งปัญหาเข้ามาโดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องเรียนและแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อมีการพูดคุยกันแล้วผลการตัดสินของหน่วยงาน ECME ถือเป็นข้อสิ้นสุดคดีความ โดยสามารถลงโทษหรือดำเนินการแก่ผู้กระทำความผิดได้ตามกฎหมาย และเมื่อร้านค้าใดทำผิดก็สามารถดึงชื่อร้านค้าออนไลน์ที่ทำผิดออกจากระบบได้ทันที ซึ่งทำหน้าที่เป็น Regulator ด้วย

การนำแนวคิดหน่วยงาน ECME มาปรับให้เข้ากับระบบของเมืองไทย เนื่องจากคงไม่สามารถไปเปลี่ยนระบบกระบวนการทั้งหมดที่มีมาได้ ดังนั้นจึงคิดว่าจะจัดตั้งศูนย์ OCC ขึ้นมา ซึ่งศูนย์นี้ทำหน้าที่คล้ายเป็นผู้ประสานงาน เนื่องจากมีความเชื่อว่าอย่างน้อยรัฐทำงานร่วมกันน่าจะสะดวกมากกว่าที่จะให้ประชาชนนั้นวิ่งเข้าหาแต่ละหน่วยงานด้วยตนเอง

“ETDA ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือและเชื่อมั่นในการซื้อ-ขายออนไลน์ให้กับผู้บริโภคคนไทยว่า หากเกิดปัญหาจะมีหน่วยงาน OCC เข้ามาช่วยดูแลแก้ปัญหาต่างๆ ให้แบบ Non Stop Service” ดร.รัฐศาสตร์ กล่าว

สำหรับหน่วยงาน OCC เริ่มดำเนินการในเฟสแรก โดยเริ่มต้นดูแลร้านค้าภายในเว็บไซต์
Thaiemarket.com ซึ่งเป็นโครงการนำร่องและพร้อมขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยสามารถส่งปัญหาที่เกิดจากการซื้อ-ขายออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ Occ.thaiemarket.com และสามารถร้องเรียนผ่านคอลเซ็นเตอร์ได้ที่เบอร์ 02-123-1223 จุดเริ่มต้นของศูนย์รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์นี้จะนำไปสู่การระงับข้อพิพาททางออนไลน์ หรือ Online Dispute Resolution ทั้งกระบวนการตั้งแต่ร้องเรียนไปถึงไกล่เกลี่ยในอนาคต

เฟสที่สองจะเริ่มในปีหน้า โดยขยายความร่วมมือไปภาคเอกชนและเพิ่มจำนวนร้านค้าอีก 1,000 ร้านค้า พร้อมจัดอบรมให้กับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ อีก 10,000 ราย  และทำการปรับปรุงเว็บไซต์ Thaiemarket.com  เพื่อรองรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งขยายความร่วมมือเรื่อง OCC ให้มากยิ่งขึ้น  และปี 2016 จะต้องทำให้ OCC กลายเป็นมาตรฐานด้านการดูแลกำกับการเกี่ยวกับการซื้อ-ขายออนไลน์ของประเทศ และเว็บไซต์ Thaiemarket.com จะเป็นเว็บไซต์กลางของประเทศในการติดต่อสื่อสารและยืนยันตัวตนของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซในไทย ทั้งหมดนี้จะเป็นภาพองค์รวมที่ต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นพร้อมกันในอีคอมเมิร์ซประเทศไทย ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบครบวงจร ดร.รัฐศาสตร์ กล่าวทิ้งท้าย

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย