กระแส FinTech กับบทนักลงทุนของ KBank

ทั้งอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง หรือสิงคโปร์ เริ่มมีบริษัทที่ทำเกี่ยวกับธุรกิจ FinTech มากขึ้นในทุกๆ หมวด เช่น เพย์เมนต์ การกู้เงิน การลงทุนหรือซื้อกองทุน และการให้คำแนะนำทางการเงิน ทั่วโลกเริ่มมีแอพฯ เหล่านี้ออกมาจำนวนมาก  ซึ่งแอพฯ ที่จะประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะถูกออกแบบให้ตรงกับพฤติกรรมของคนในประเทศนั้นๆ หรือขึ้นอยู่กับกระแสของคนในประเทศด้วย

ทวี ธีระสุนทรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ทวี ธีระสุนทรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ประเทศไทย มีสตาร์ทอัพในกลุ่มของ FinTech เกิดในตลาดประมาณ 2-3 รายเท่านั้น เมื่อเทียบทั่วโลกที่มีอยู่ในตลาดกว่า 500 ราย โดยมีทั้งกลุ่มเทรดหุ้น ขายกองทุน กู้เงิน คลาวด์ฟันด์ดิ้ง

เมื่อ FinTech เริ่มเกิดกระแสในไทย
ทวี ธีระสุนทรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยได้เห็นถึงกระแสของ FinTech มาสักระยะในต่างประเทศ แต่สำหรับประเทศไทย กระแสของ FinTech เพิ่งเริ่ม ทำให้ตลาดยังไม่ใหญ่มาก สตาร์ทอัพที่ทำเรื่อง FinTech ยังน้อย และเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ในการเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินผ่านโมบายล์แอพพลิเคชั่น แต่เริ่มเห็นการเติบโตในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเปิดรับและเชื่อมั่นในการใช้งาน เทียบกับในอดีตที่เริ่มมีการใช้บัตรเอทีเอ็ม กว่าคนไทยส่วนใหญ่จะใช้บัตรเอทีเอ็ม ยังต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเหล่า  FinTech กว่าจะได้รับความนิยมในประเทศ คงจะต้องใช้เวลาเช่นเดียวกัน

แม้ปัจจุบันจะมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทเพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีผู้ที่ยังใช้งานโทรศัพท์แบบฟีเจอร์โฟนเช่นกัน และหากแยกอายุกับกลุ่มผู้ใช้มือถือสมาร์ทโฟนจะพบว่า ผู้ใช้วัยรุ่นถึงวัยกลางคน มีแนวโน้มใช้งานมากกว่าผู้ใช้กลุ่มสูงวัย แต่มีรายได้น้อยกว่าวัยสูงอายุ ทำให้เวลาใช้งานธุรกรรมผ่านออนไลน์ จึงมีปริมาณไม่สูงเท่าไร ถ้าเจาะกลุ่มนี้ให้เข้ามาใช้งานจำนวนมาก แอพฯ นั้นจะต้องฟรีหรือจ่ายน้อยที่สุด แต่จำนวนรายได้จากการทำธุรกรรมยังน้อย เมื่อเทียบกับการทำแอพฯ ให้กลุ่มผู้สูงอายุ รายได้สูง เล่นแอพฯ

ทวี กล่าวต่อว่า อุปสรรคของ FinTech คือการปรับตัวของคน ไม่ได้อยู่ที่การพัฒนาแอพฯ เพราะตอนนี้แอพฯ ที่มีอยู่ในตลาดสามารถพัฒนาไปได้ไกลมากแล้ว แต่เข้ามาในประเทศไทยหรือประเทศอื่น ไม่ใช่ทุกแอพฯ ที่จะสำเร็จในทุกประเทศ เนื่องจากแอพฯ ที่ดี ต้องตอบโจทย์ได้ในหลายๆ มิติ FinTech เป็นเรื่องของออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงของมนุษย์ยังมีองค์ประกอบของออฟไลน์อยู่บ้าง เพราะมนุษย์ต้องการจับต้องเงิน ในอนาคตอาจใช้เงินน้อยลง และถึงวันนั้น แอพฯ อาจจะได้รับความนิยมมากขึ้น คนยังช้อปปิ้งด้วยการเดินไปที่ห้างสรรพสินค้า ไม่อยากช้อปออนไลน์เพราะต้องการจับเนื้อผ้า การจ่ายเงินยังต้องการความปลอดภัยในเชิงที่ว่าความปลอดภัย

ลงทุนด้าน FinTech
ทวี กล่าวว่า ตอนนี้กสิกรไทยเริ่มเห็นทิศทางธนาคารในต่างประเทศต่อ FinTech แต่ประเทศไทย มีสตาร์ทอัพในกลุ่มของ FinTech เกิดในตลาดประมาณ 2-3 รายเท่านั้น เมื่อเทียบทั่วโลกที่มีอยู่ในตลาดกว่า 500 ราย โดยมีทั้งกลุ่มเทรดหุ้น ขายกองทุน กู้เงิน คลาวด์ฟันด์ดิ้ง ต่อไปถ้าตลาดของ FinTech เกิดการยอมรับจากผู้บริโภคคนไทยมากขึ้น การให้บริการด้านดิจิทัลของธนาคารจะมาจาก 2 ส่วน ได้แก่ 1. โปรดักส์ที่ธนาคารสร้างเอง 2. การร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับสตาร์ทอัพ FinTech ในการทำงานร่วมกัน

โครงการ AIS The Startup 2015 เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทางธนาคารกสิกรไทยเข้าไปร่วมสนับสนุน โดยมอบรางวัลพิเศษ คือ Best FinTechStartup Award ให้แก่สตาร์ทอัพผู้ที่เข้าร่วมแข่งขันที่สามารถแสดงให้เห็นถึง Financial Solution ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และการใช้งานได้จริง โดยทางธนาคารต้องการที่จะลงทุนและผลักดันให้ผู้ชนะการประกวดครั้งนี้ สามารถพัฒนาไปเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการใช้เทคโนโลยี

“เรามองว่า กลุ่ม FinTech เป็นสิ่งที่ธนาคารกสิกรไทยจะต้องมีโอกาสร่วมกันทำงานอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าคงจะเลือก FinTech ที่เหมาะสม และเข้ากับทิศทางของธนาคารมากที่สุด”

ตอนนี้ ผู้บริหารของธนาคารกำลังศึกษาเทรนด์ และวางแผนในเรื่องของ FinTech และนวัตกรรมทางการเงิน โดยอาจมีการจัดตั้งซิลิคอน แวลลีย์ บ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมการเงิน การซื้อแอพพลิเคชั่น หรือการสวมบทบาทเป็น Venture Capital ซึ่งไม่เฉพาะในไทย อาจเป็นการลงทุนกับสตาร์ทอัพในต่างประเทศด้วย อนาคตทุกอย่างเป็นไปได้หมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมผู้บริโภค ตลาด เวลาที่เหมาะสมที่จะเลือกลงมือทำก่อนเท่านั้น

e203

ฉบับที่ 203 เดือนพฤศจิกายน

FinTech อนาคตโลกการเงิน

ภาพธนาคารในอนาคต
ทวี กล่าวต่อว่า ธนาคารกสิกรไทยได้เตรียมพร้อมในการเป็น Digital Banking แต่รอเวลาในการเปิดให้บริการในแต่ละส่วน เช่น เครื่องบริการแบบ Self Service แอพพลิเคชั่น หรือเพย์เมนต์ที่จะมีความครบครันยิ่งขึ้นตามพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะธนาคารมีเป้าหมายคือ การนำบริการเข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกค้า ต่อไปสาขาธนาคารจะขยายไปยังพื้นที่ห่างไกลที่ระบบอินฟราสตรัคเจอร์เข้าไปไม่ถึง สัญญาณโทรศัพท์ยังไม่รองรับการทำงานผ่านโมบายล์อินเทอร์เน็ตมากกว่าในเมือง  ส่วนสาขาในเมืองอาจไม่เพิ่มขึ้น ถ้าผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาใช้งานดิจิทัล

อาจมีการเพิ่มบริการด้านดิจิทัลมากขึ้น เพราะเด็กรุ่นใหม่จะเริ่มเข้าสู่การทำงาน แต่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่ยังต้องการไปที่สาขา เนื่องจากมีบางธุรกรรม ถึงแม้จะเชื่อมั่นด้านเทคโนโลยี แต่อยากสอบถามบุคคลให้เกิดความมั่นใจ รวมถึงบริการที่รองรับผู้บริโภคออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ กับที่นิยมทั้งออนไลน์ละออฟไลน์ด้วย เพราะยังชอบการเดินห้างสรรพสินค้าและได้สัมผัสสินค้าด้วยตัวเอง ดังนั้น จึงมีธนาคารที่เป็นสาขา ตู้ฝากเงินอัตโนมัติในย่านชุมชน อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง และโมบายล์แบงกิ้งให้กับลูกค้าไม่ว่าจะเดินทางหรืออยู่บ้าน สามารถใช้บริการจากทางธนาคารได้ตลอดเวลา

cover2-2

อาจมีการซื้อแอพพลิเคชั่น หรือการสวมบทบาทเป็น Venture Capital ไม่เฉพาะในไทย อาจเป็นการลงทุนกับสตาร์ทอัพในต่างประเทศด้วย อนาคตทุกอย่างเป็นไปได้หมด

การอยู่ใน Financial Industry ผู้ให้บริการจะต้องเข้าไปอยู่ในทุกๆ ที่ของลูกค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ในอนาคต อาจอยู่บนแพลตฟอร์มของอินเทอร์เน็ตทีวี เช่น การเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ทีวี ด้วยการเปิดสาขาบนหน้าจออินเทอร์เน็ตทีวี โดยใช้ชื่อว่าสาขาบ้านคุณ

เมื่อกดเข้าไปจะเหมือนกับการเดินเข้าไปในสาขาธนาคาร มีผู้จัดการออกมาต้อนรับ และสอบถามถึงความต้องการใช้บริการ รวมถึงการผูกบัตรเครดิตหรือบัญชีของธนาคารไว้กับแพลตฟอร์ม สามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการ พร้อมกับชำระเงินได้ทันที หรือจากเทรนด์ Internet of Things ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็สามารถตัดผ่านบัตรได้ทันที อาทิ ตู้เย็นเชื่อมต่อกับซุปเปอร์มาร์เก็ต สินค้าหมด สั่งซื้อ ตัดบัตร และมาส่งสินค้าที่บ้าน เป็นต้น

“ธนาคารจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำธุรกรรมให้กับธุรกิจต่างๆ เช่น บริษัทผลิต คนซัพพลายสินค้า ร้านช้อปปิ้งต่างๆ ซึ่งเทรนด์ที่กล่าวมานี้ คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนประมาณ 10 ปีข้างหน้า”  

การเติบโตของ ธุรกิจดิจิทัล แบงกิ้ง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปี 2558 จนถึงปี 2559 จะมีการลงทุนโครงสร้างเทคโนโลยีพื้นฐานหรือโครงข่ายบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตต่างๆ ทั้งแบบมีสายและไร้สายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการลงทุนจากทางภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และผู้ประกอบการโทรคมนาคมและการสื่อสารภาคเอกชน โดยได้รับปัจจัยมาจากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ตั้งเป้าว่า ต้องขยายโครงข่ายใยแก้วนำแสงให้เข้าถึงผู้บริโภคในระดับหมู่บ้าน ในสัดส่วนร้อยละ 70 – 80 ของหมู่บ้านทั้งหมดทั่วประเทศ ภายในปี 2558 , และจะต้องเข้าถึงประชาชนในระดับหมู่บ้าน ในสัดส่วนร้อยละ 95 ภายในปี 2559

แม้จะเห็นทิศทางที่ดีในศักยภาพการให้บริการธนาคารในรูปแบบดิจิทัล แต่สิ่งที่ธนาคารต้องให้ความสำคัญเช่นกันคือ มาตรการในการป้องกันการโจรกรรมทางอินเทอร์เน็ต และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

“ธนาคารกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ใน 1-2 ปีนี้ ลูกค้ากว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของธนาคาร จะมาใช้ช่องทางดิจิทัลของธนาคาร โดยเฉพาะ Mobile Banking ที่มีอัตราการเติบโตกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการทำธุรกรรมกว่า 100,000 ล้านบาทต่อเดือน” 

เทรนด์หนึ่งของดิจิทัล แบงกิ้ง ที่เพิ่มความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาคือ Micro Payment โดยมีมาในรูปแบบของ e-Wallet บนบัตร หรือบนโทรศัพท์มือถือ และธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายในการลดการใช้เงินสดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้เงินสดอยู่ถึง 97 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน เช่น มาเลเซีย ใช้เงินสดอยู่ 92.5 เปอร์เซ็นต์ สิงคโปร์ 65.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาก

นโยบายภาครัฐปัจจุบัน เน้นลดการใช้เงินสด โดยสนับสนุนให้ใช้บัตรเดบิตในการชำระเงินแทน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวยังมีอยู่อย่างจำกัด เพราะประเทศไทยมีจำนวนบัตรเดบิต/เครดิต 0.75 บัตร/คน ในขณะที่มาเลเซียมีอยู่ 1.50 บัตร/คน หรือสิงคโปร์มีจำนวน 3.75 บัตร/คน

“ธุรกิจดิจิทัล แบงกิ้ง ของประเทศไทย ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะมีสัดส่วนการใช้บริการเพียง 19 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับตลาดของภูมิภาคเอเชียที่มีผู้ใช้บริการดิจิทัล แบงกิ้ง รวมกว่า 700 ล้านคน โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอัตราการใช้บริการสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น”  

จากการที่มีมติที่ประชุมบอร์ดไปเมื่อเดือนกันยายน ในการอนุมัติจัดตั้ง 4 บริษัท ที่เกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอซีที โดยธนาคารได้เป็นผู้ลงทุน 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง 1 ใน 4 บริษัท เป็นบริษัทที่ลงทุนด้านการค้นคว้าเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ คือ บริษัท กสิกร แล็บส์  การตัดสินใจสร้างบริษัททางด้านนี้ ทำให้เห็นถึงความชัดเจนของธนาคารกสิกรไทยในการมองต่อยอดเรื่องนวัตกรรมทางการเงิน และ FinTech  ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย

  • ธนาคารต่างๆในไทยจะให้บริการล็อกอินแก่เว็บซื้อขายออนไลน์ต่างๆได้แล้ว

    อีกไม่นาน ธนาคารต่างๆในไทยอาจพากันมาให้บริการ “ยืนยันบุคคล” เช่นเมื่อเราไปซื้อสินค้าออนไลน์ ก็ล็อกอินด้วยแอคเคาท์กับธนาคารหนึ่งๆได้ เพราะล่าสุดแบงค์ชาติได้ขยายขอบเขตให้ธนาคารพาณิชย์ทำหน้าที่ยืนยันตัวตนของลูกค้าได้

  • กระแสนิยม O2O จากจีน สู่การเปลี่ยนแปลงตลาดออนไลน์ในไทย

    ETDA ได้คาดการณ์ว่า ปี 61 ประเทศไทย การค้าในรูปแบบ E-Commerce ในปัจจุบัน จะเติบโตถึง 3 ล้านล้านบาท ซึ่งหลาย ๆ คนคิดว่าเป็นการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน แต่ตอนนี้...

  • Facebook Camera เปิดฟีเจอร์ใหม่ ทดลองเครื่องสำอางผ่าน AR

    สาว ๆ ทั้งหลายอาจจะเคยถ่ายรูปตัวเองเพื่อจะลงอวดโฉมลงโซเชียล แต่คงต้องแต่งภาพให้ตัวเองสวยเป็นที่น่าพอใจก่อนที่จะลงรูป โดยผ่านแอปพลิเคชั่นแต่งภาพ ที่อาจจะรู้จักอย่าง MakeupPlus AR แอปพลิเคชั่น ช่วยแต่งหน้า เปลี่ยนสีผมของเราให้ออกมาสวยยิ่งขึ้น  ด้วยระบบ AR และยังมีฟีเจอร์สำหรับทดลองเครื่องสำอางจากเคาน์เตอร์แบรนด์อย่างเช่น...