การเงินดิจิทัล เรื่องธรรมดา ในปี 2016

ผ่านพ้นไปอีกหนึ่งปีที่มีทั้งเรื่องสุขและทุกข์สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปนะครับ ซึ่งก็เชื่อว่าท่านผู้อ่านของเราก็สามารถผ่านทุกอย่างมาได้ และขอสวัสดีปีใหม่อย่างเป็นทางการกันอีกสักที และสำหรับปีใหม่เรื่องที่เราทุกคนน่าจะต้องเปิดรับกันมากขึ้น เพราะมันจะเข้ามาในวิถีชีวิตของเรามากขึ้น คือเรื่องเงินดิจิทัลครับ

tech2-1

เมื่อถึงหน้าร้านที่รองรับการชำระด้วย LINE Pay ก็บอกกับแคชเชียร์ให้เรียบร้อยว่าจะชำระด้วย LINE Pay พร้อมเปิดหน้าของ LINE Pay เพื่อให้ร้านสแกนเลขประจำตัวของเราออกไปได้ หลังจากยืนยันด้วยรหัสผ่านหรือ Touch ID

ที่ผ่านมา เราอาจจะได้ยินเรื่องของ Bitcoin เงินนิรนามที่เป็นที่นิยมกันมากในโลกไซเบอร์ใต้ดิน หรือ Apple Pay ที่แอปเปิลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา แต่ทั้งสองเรื่องนี้ก็ยังจัดว่าไกลตัวคนไทยทั่วไปอยู่ไม่น้อย เพราะไม่ได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีทั้ง 2 นี้ได้โดยง่าย แต่การมาถึงของรูปแบบการใช้จ่ายดิจิทัลหลายอย่างในช่วงปีนี้ ก็ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าปีหน้าคนไทยเราได้คุ้นเคยกับเรื่องเหล่านี้แน่ๆ โดยเฉพาะ LINE Pay

LINE Pay รูปแบบการจ่ายเงินที่ใกล้ตัวคนไทยกว่า Apple Pay
LINE Pay นั้นเราได้ยินมาตั้งแต่ช่วงปีที่แล้วนะครับ ที่จะเป็นบริการใหม่ในเครือของแอพฯ LINE ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจ่ายเงินโดยไม่ต้องนำบัตรเครดิตไปยื่นให้โดยตรง ซึ่งก็เป็นแนวคิดเดียวกับ Apple Pay เลย แต่ LINE Pay นั้นอาศัยความได้เปรียบที่ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีผู้ใช้ LINE มากเป็นอันดับ 2 ของโลก นับถึงปี 2015 ก็ราวๆ 33 ล้านคนเข้าไปแล้ว หรือนับเป็นราวๆ ครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรไทยเลยก็ได้ จึงทำให้ LINE Pay เข้าถึงพลเมืองดิจิทัลของไทยได้เยอะมาก

ในช่วงปี 2015 ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ LINE Pay เริ่มวางรากฐานในประเทศไทย จากการเปิดตัวแรกๆ จะเน้นใช้ซื้อบริการของ LINE เป็นหลักก่อน เช่น ใช้ซื้อเหรียญ ซื้อไอเทมในเกม (ซึ่งลักษณะการใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างจากการผูกบัตรเครดิตเพื่อซื้อของเหล่านี้โดยตรงเลย) จนต่อมาก็เริ่มมีพาร์ตเนอร์เป็นร้านค้าจริงๆ ที่เปิดให้ซื้อสินค้าผ่าน LINE Pay โดยชูจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยที่ไม่ต้องนำบัตรเครดิตออกมาใช้ให้กังวลว่าข้อมูลส่วนตัวของบัตร เช่น หมายเลขบัตรเครดิต หรือเลข CVV จะถูกแอบคัดลอกไปใช้ต่อ แต่ในแง่ของความวุ่นวายในการใช้ LINE Pay กับหน้าร้าน ก็ไม่ได้ต่างจากการนำบัตรเครดิตจริงๆ ออกมาใช้สักเท่าไร

e205

ฉบับที่ 205 เดือนมกราคม

NextGen ของโฆษณาบน Mobile

กระบวนการใช้ LINE Pay กับร้านต่างๆ
การใช้ LINE Pay กับหน้าร้านนั้นควรจะเพิ่มบัตรเครดิตลงไปในแอพฯ LINE ก่อน เพื่อที่จะไม่ไปวุ่นวายที่หน้าร้าน โดยเปิดแอพฯ LINE แล้วเลือกแท็บ More อันสุดท้าย เพื่อเลือกที่ LINE Pay และดำเนินการเพิ่มบัตรเครดิตเข้าสู่ระบบ ตั้งรหัสผ่าน 7 หลัก แล้วถ้าเป็น iPhone ก็ผูกเข้ากับ Touch ID ให้เรียบร้อย เพื่อให้ใช้ง่ายที่สุด

เมื่อถึงหน้าร้านที่รองรับการชำระด้วย LINE Pay ก็บอกกับแคชเชียร์ให้เรียบร้อยว่าจะชำระด้วย LINE Pay พร้อมเปิดหน้าของ LINE Pay เพื่อให้ร้านสแกนเลขประจำตัวของเราออกไปได้ หลังจากยืนยันด้วยรหัสผ่านหรือ Touch ID เรียบร้อย เงินก็จะถูกหักจากบัตรเครดิตผ่านทาง LINE Pay เป็นที่เรียบร้อย

ในส่วนของการซื้อของออนไลน์ เมื่อเลือกการจ่ายเงินเป็น LINE Pay แล้ว ระบบจากสร้าง QR Code ขึ้นมาให้เราใช้แอพฯ LINE ในส่วนของ LINE Pay สแกน (หรือถ้าไม่สแกนก็กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของ LINE ลงไปในเว็บฯ ซื้อของ) แอพฯ LINE ก็จะเด้งให้ยืนยันการชำระเงินเพื่อให้ใส่รหัสผ่าน 7 หลัก หรือแตะ Touch ID ก็จะจ่ายเงินเรียบร้อย

ซึ่งตอนนี้ LINE กำลังเร่งขยายตลาด จึงทำให้มีโปรโมชั่นรวมกับร้านค้ามากมาย ทั้งการชำระผ่าน LINE Pay จะได้รับสติ๊กเกอร์พิเศษ ได้ตุ๊กตา หรือได้ส่วนลดพิเศษอีกด้วย

สำหรับอนาคตของ LINE Pay เราจะเห็นบริการใหม่ๆ ที่ปรากฏขึ้นใน LINE Chat และมี LINE Pay เข้าไปควบรวมมากขึ้น เช่น บริการล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2015 คือ LINE Gift Shop ที่ผู้ใช้ LINE สามารถใช้ LINE Pay เพื่อซื้อของขวัญให้เพื่อน และให้เพื่อนนำคูปองจาก LINE ไปแลกของขวัญได้เลย (เช่น แลกซาลาเปาที่ 7/11)

tech2-2

เมื่อลูกค้าตกลงที่จะซื้อสินค้าเรียบร้อย เราก็ส่งลิงก์ของ Pay Social ที่เป็นบัญชีของเราให้ไป อาจจะส่งผ่าน LINE, Facebook หรือช่องทางไหนก็ได้ เพื่อให้ลูกค้าเข้าระบบไปจ่ายเงินผ่านช่องทางของ Pay Social แล้วผู้ค้าก็จะได้รับแจ้งเตือน

หรือบริการขายของต่างๆ ก็สามารถนำเสนอสินค้าผ่าน LINE Official Account และจ่ายเงินผ่าน LINE Pay ได้ในตัวแอพฯ LINE เลย (จะเริ่มให้บริการเร็วๆ นี้) และ LINE Pay ก็จะเริ่มให้บริการในรูปแบบของ Wallet เพื่อเติมเงินเข้าไปเก็บเลยใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องมีบัตรเครดิตเร็วๆ นี้ด้วย ปีหน้า LINE Pay จึงน่าจะทำให้ตลาดดิจิทัลไทยคึกคักขึ้นได้อีกมากครับ

True Money, Jaew Wallet, AIS mPay
สำหรับเงินดิจิทัลที่มีมาก่อนนมนานอย่างบริการจาก 3 ค่ายมือถือ (ที่ dtac อาจจะตามมาช้าหน่อย) ก็มีความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญคือ การประกาศจับมือเพื่อให้ผู้ใช้สามารถโอนเงินที่อยู่ในกระเป๋าเงินทั้ง 3 ค่ายข้ามไปข้ามมาได้ ซึ่งก็ทำให้การใช้งานกว้างขวางขึ้น

ที่ผ่านมากระเป๋าเงินจากค่ายมือถือเหล่านี้มักเป็นช่องทางในการชำระบิลค่าบริการต่างๆ ทั้งบริการของทางค่ายเอง ค่าไฟ ค่าน้ำ รวมถึงค่าบัตรเครดิตในบางค่าย มากกว่าจะเป็นบริการที่ใช้แทนเงินสดอย่างที่ LINE Pay พยายามเป็น แต่ True Money Wallet ก็เป็นบริการที่พยายามทำให้โดดเด่นกว่านั้นโดยทำตัวเป็นกระเป๋าเงิน ใช้ซื้อไอเทมในเกม และใช้โอนเงินซื้อสินค้าต่างๆ ที่วัยรุ่นรู้จักกันดี (ก็มีด้านที่ไม่ค่อยดีบ้างในฐานะเงินที่ติดตามได้ยาก จึงมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด)

Pay Social ช่องทางการจ่ายเงิน สนับสนุนแม่ค้าออนไลน์
หนึ่งในปัญหาของพ่อค้าแม่ค้าคือ การชำระเงินที่ยุ่งยาก โดยปกติผู้ค้ารายย่อยจะอาศัยช่องทางโอนเงินผ่านธนาคารเป็นหลัก ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องความยุ่งยากในฝั่งของผู้ซื้อเอง ทำให้ผู้ซื้อจบที่ขั้นตอนนี้ ไม่ได้ไปโอนเงินเพื่อดำเนินการต่อ Pay Social จึงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ให้ผู้ค้ามีช่องทางการชำระเงินเพิ่มมากขึ้น

Pay Social เป็นช่องทางการจ่ายเงินที่ออกแบบมาสำหรับพฤติกรรมการซื้อขายของคนไทยโดยเฉพาะ วิธีการทำงานของ Pay Social คือทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับเงินจ่ายเงินแทนการโอนเข้ามาหาผู้ขายโดยตรง ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการจ่ายเงินมากขึ้น ทั้งจ่ายผ่านบัตรเครดิต ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือจะเป็น Paypal หรือ Bit coin ก็ยังได้ โดยสินค้ามูลค่ามากกว่า 3,000 บาทลูกค้าก็สามารถเลือกช่องทางผ่อนชำระได้ด้วย

ถ้าจะพูดการใช้งาน Pay Social ให้เห็นภาพ คือเมื่อลูกค้าตกลงที่จะซื้อสินค้าเรียบร้อย เราก็ส่งลิงก์ของ Pay Social ที่เป็นบัญชีของเราให้ไป อาจจะส่งผ่าน LINE, Facebook หรือช่องทางไหนก็ได้ เพื่อให้ลูกค้าเข้าระบบไปจ่ายเงินผ่านช่องทางของ Pay Social แล้วเมื่อลูกค้าจ่ายเงินมาเรียบร้อย ผู้ค้าก็จะได้รับแจ้งเตือน ซึ่งสามารถดูรายการได้ละเอียดและง่ายกว่าไปดูหน้าสมุดบัญชีครับ

Pay Social มีค่าบริการ 3.75% ของจำนวนเงินที่เข้ามา (ไม่รวม Vat 7%) และมียอดการโอนขั้นต่ำ 5,000 บาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ pay.sn ครับ

เมื่อเรื่องเงินกลายเป็นเรื่องดิจิทัลมากขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ผู้ใช้อย่างเราควรเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ใช้เทคโนโลยีที่เข้ามาข้องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันกันได้มากขึ้นครับ

Contributor

eka-x

Eka-X

เอกพล ชูเชิด

วุ่นวายกับเทคโนโลยีมาตั้งแต่เยาว์วัย จนเริ่มมีอายุเยอะก็จับคีย์บอร์ดหาเลี้ยงชีพด้วยงานเขียนด้านเทคโนโลยีมาตลอด ทั้งยังเปิด Aofapp.com เว็บไซต์ส่วนตัวที่เล็กมากๆ เพื่อเขียนรีวิวแอพฯ มือถือเรื่อยๆ ในเวลาว่าง ถึงจะสาหัสกับงานขนาดไหนก็ยังเขียน แชร์ บ่นไปเรื่อยใน Twitter

Twitter: Twitter.com/eka_x

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

กระเป๋าเงินดิจิทัลเปลี่ยนวิถีชีวิต

นอกจากเงินสดและบัตรเครดิตแล้ว รูปแบบการใช้จ่ายเงินแบบใหม่ที่กำลังมาแรงคือ กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital e-Wallet) เพราะสามารถแก้ไขปัญหาได้หลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีบัตรเครดิตใช้กัน ปัญหาของเงินรูปแบบเก่าสู่กระเป๋าเงินดิจิทัล ถึงแม้ว่าเราจะใช้เงินสดและบัตรเครดิตกันมาอย่างยาวนาน...