เรียนรู้วิธีประสบความสำเร็จ จากความล้มเหลวของ 500 สตาร์ทอัพ

เมื่อมองภาพของสตาร์ทอัพ อาจจะดูสวยงามเติบโตอย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จ แต่อีกมุมหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงคือเรื่องของความล้มเหลว ก่อนที่จะมาเฉิดฉายในปัจจุบัน

ในการบรรยายหัวข้อ “The Road for Successful Startup: Lessons Learned from 500 Failed Startups” โดย Yossi Shavit จาก Yozma (Initiative) Consulting ประเทศอิสราเอล ได้ทำการพูดคุยและสำรวจปัจจัยที่ทำให้สตาร์ทอัพกว่า 500 รายไม่ประสบความสำเร็จ และนำมาถ่ายทอดเพื่อเป็นบทเรียนกับผู้ที่กำลังเริ่มต้น ได้นำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเอง

สรุปบทเรียนจากสตาร์ทอัพที่ล้มเหลว

จากการพูดคุยให้คำปรึกษากับสตาร์ทอัพที่ล้มเหลว Yossi แบ่งนำข้อมูลมารวบรวมและพบว่า มี 5 ปัจจัยหลักที่ทำให้สตาร์ทอัพเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จ

1.Scalability สตาร์ทอัพต้องมีความสามารถในการขยายตัวไปยังตลาดอื่นๆ ไม่จำกัดอยู่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น ถึงแม้ว่าการทำงานต้องเริ่มที่ประเทศไทยก่อนก็ตาม แต่ต้องมองเห็นอนาคตที่จะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ผู้ใช้งานอื่น เพราะว่ากลุ่มผู้ใช้งานเพียง 70 กว่าล้านคนไม่เพียงพอต่อการเติบโตแบบก้าวกระโดดของสตาร์ทอัพ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง และมองหาตลาดที่มีความต้องการด้วยการค้นคว้าข้อมูลเฉพาะพื้นที่อยู่เสมอ ซึ่งอย่างไรก็ตามการที่สินค้า บริการ สามารถ ขับเคลื่อนเองได้แบบอัตโนมัติ ดึงผู้คนเข้ามาใช้งานได้ด้วยตัวเองก็นับว่าเป็นกำไรของการเริ่มต้นได้ดี

2.Born Global อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าต้องวางแผนการขยายตลาด ซึ่งรวมไปถึงการออกนอกประเทศด้วย การมองเฉพาะกลุ่มเล็กๆ ก็ยังไม่ใช่วิถีของสตาร์ทอัพ ดังนั้นการทำงานของสตาร์ทอัพควรมีความเป็นสากล และมีมุมมองที่กว้างไกลในระดับนานาชาติ

ข้อแนะนำสำหรับการสร้างสตาร์ทอัพเพื่อ Born Global

  1. ภาษาเลือกใช้ต้องเป็นสากล อาทิภาษาอังกฤษ
  2. กลยุทธ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
  3. ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขของพื้นที่นั้นๆ
  4. แนวโน้มของปัจจัยต่างๆ ทั่วโลก

3.Uncertainty การที่จะเริ่มพัฒนาบริการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ไม่เคยมีใครเห็น ไม่รู้จักมาก่อน แน่นอนว่าต้องมากับความเสี่ยงที่สูงมาก ดังนั้นจุดสำคัญที่เน้นยำคือเรื่องของการสำรวจ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจปัญหา ตลาด กลุ่มลูกค้าเป็นใคร และพวกเขาจะรู้สึกอย่างไรถ้าได้ใช้งานผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ แต่เบื้องหลังของการตัดสินใจต้องอยู่ภายใต้วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ด้วย อาทิคนส่วนใหญ่ในโลกใช้ Whatsapp เป็นแอพฯหลักในการแชท แต่จีนใช้ WeChat ซึ่งนอกจากนั้นก็ยังมีแยกออกมาอีกว่าใช้งานแอพแชทอื่นๆ สำหรับคนรัก หรือสำหรับครอบครัว ซึ่งการที่เริ่มในตลาดใหญ่นับว่ามีข้อได้เปรียบเพราะมีโอกาสเติบโตมาก แต่หาเริ่มในตลาดเล็ก ก็ยากที่จะเติบโตในอนาคต

ทั้งนี้มีผลสำรวจจากสตาร์ทอัพที่ล้มเหลวหลังเริ่มพัฒนาไปแล้ว ว่า 42% เป็นสินค้า/บริการ ที่ไม่มีตลาดรองรับ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสตาร์ทอัพ ที่มีไอเดียใหม่ เพราะในขณะที่ทุ่มเท ฝ่าฟันอุปสรรคในการสร้างมากตั้งนาน แต่กลับไม่มีใครต้องการใช้งาน ดังนั้นต้องย้อนกลับไปในขั้นตอนสำรวจอีกครั้งว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้จริงหรือไม่

ส่วนสำคัญที่ต้องใส่ใจคือ กฎหมาย และข้อกำหนดต่างๆ ไอเดียที่เกิดใหม่อาจจะเป็นสิ่งที่บริษัทใหญ่ๆ เคยได้คิด แต่ไม่ได้ทำ และบรรดาสตาร์ทอัพก็มองเห็นจุดเดียวกันและนำมาประยุกต์ใช้ โดยไม่ได้ศึกษาข้อกฎหมายอย่างละเอียดเสียก่อน อาทิการบินโดรน ที่หลายประเทศมีข้อจำกันห้ามบินในบางพื้นที่ แต่หลายคนก็ไม่ได้ศึกษาในเรื่องนี้

และอีกความเสี่ยงที่สำคัญคือเรื่องของการเงิน เพราะว่าสตาร์ทอัพในช่วงเริ่มต้นอาจจะยังไม่มีผู้ลงทุนหรือรายได้ ดังนั้นจึงควรใช้เงินอย่างระมัดระวังและคุ้มค่า เพื่อจะได้ไม่ต้องล้มเหลวด้วยปัญหาทางการเงิน

4.The Team 23% ของสตาร์ทอัพบอกว่าตนล้มเหลวเพราะคนในทีมทำงานไม่เข้าขากัน ทีมงานสตาร์ทอัพเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความล้มเหลว เพราะว่าการทำงานเป็นทีมต้องมีการประสานงาน และช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ รวมถึงภายในทีมนั้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย สามารถปั้นไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่างได้จริงโดยอาศัยประสบการณ์ ทักษะ คอนเน็กชั่น ทีมเวิร์ก และความทุ่มเท พร้อมจะล้มและรีบลุกไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ทีมยังเป็นปัจจัยแรกๆ ที่นักลงทุนให้ความสำคัญ ผู้ลงทุนบางเจ้าเข้าไปศึกษาและดูวิธีการแก้ปัญหาของสตาร์ทอัพก่อนเริ่มลงทุนจริง

5.Investors 98% ล้มเหลวในครั้งแรกที่ขอเงินทุนในระดับ Seed และ 27% ได้รับเงินลงทุนก้อนแรกในครั้งที่สอง เพราะพวกเขานำข้อผิดพรากจากในครั้งแรกมาปรบใช้และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น

ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนมองหาในตัวสตาร์ทอัพ ก็คือทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ความสามารถในการขยายตัว  ความเป็นสากล  ความระมัดระวังต่อสิ่งที่อาจเกิดขึ้น ทีมงานที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายอย่างชัดเจน

Yossi Shavit กล่าวทิ้งท้ายว่า สตาร์ทอัพมีจุดเริ่มต้นเดียวกันคือการเปลี่ยนแปลงโลก หลายคนอาจจะเริ่มจากการทำแพลตฟอร์ม แต่อย่าลืมว่าคนไม่ได้ต้องการแพลตฟอร์ม พวกเขาต้องการแค่โซลูชั่นที่ยกระดับชีวิตให้ดียิ่งขึ้น และนี่คือสิ่งทึควรทำ

“สำหรับเหตุผลที่ทำให้สตาร์ทอัพล้มเหลวทั้งหมดนี้ เป็นบทเรียนที่ทำให้เราได้รู้ในสิ่งที่ควรระมัดระวัง แต่เมื่อเราได้มีลูกค้ารายแรกแล้ว ความท้าทายก็จะเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สุด การทำสตาร์ทอัพ ไม่ใช่ล้มแล้วจะตายจากไป แต่เราจะตายและเกิดใหม่เพื่อกลับมาอีกครั้ง” Yossi Shavit

 

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts